ระบบ EMS ของไปรษณีย์ไทย

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเข้ามีอิทธิพลในทุกๆด้าน หลายธุรกิจจึงพยายามนำระบบสารสนเทศเข้ามาพัฒนาองค์การของตนเอง  แต่การที่เราจะนำข้อมูลต่าง ๆ ทำออกมาในรูปแบบระบบสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลที่จะต้องนำไปทำระบบสารสนเทศจะต้องการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้นฐานข้อมูล (Database) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ หลายองค์การจึงได้นำเทคโนโลยีฐานข้อมูลมาใช้งานเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งขันในเชิงการค้า นั่นหมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลมาใช้ประโยชน์ด้วยการเรียกดูข้อมูล แสดงรายงาน รวมทั้งการนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ และการวางแผน และถ้าจะกล่าวถึงระบบการจัดส่งสินค้าหรือจดหมายในประเทศไทยอย่างบริษัทไปรษณีย์ไทย ซึ่งในขณะนี้ก็ได้นำระบบติดตามและตรวจสอบสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์เข้ามาใช้ในองค์การและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเรื่อยๆ จากเดิมก่อนที่ไปรษณีย์ไทยจะนำระบบนี้เข้ามาใช้กับองค์การ ผู้ใช้บริการไม่สามารถทราบถึงระยะเวลาในการจัดส่งและสถานะสินค้าของตนเองได้เลย แต่หลังจากที่บริษัทไปรษณีย์ไทยได้นำระบบนี้เข้ามาใช้ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ใช้บริการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นบริการสำหรับการติดตามและตรวจสอบสิ่งของที่มีการฝากส่งภายในและเทศไทยและระหว่างประเทศ โดยผู้ที่ใช้บริการสามารถติดตามผลของการฝากส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ว่าถึงมือผู้รับแล้วหรือยังชื่อของระบบนี้คือ “Track and Trace” หรือ “ตรวจสอบสถานะEMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน” โดยโครงสร้างของระบบตรวจสอบและติดตามการจัดส่งสิ่งของไปรษณีย์นี้ ประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือส่วนการทำงานที่ทำการไปรษณีย์ ส่วนการทำงานฮับต้นสังกัด ส่วนการทำงานศูนย์ไปรษณีย์ และส่วนของลูกค้า

ระบบการทำงานเป็นดังนี้ คือ

1.สแกนบาร์โค๊ดที่ทำการไปรษณีย์เพื่อทำการส่งวัสดุ ข้อมูลจะถูกส่งเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ทันทีว่ามีการรับของชิ้นนี้แล้ว จากเคาเตอร์ช่องไหน เวลาเท่าไหร่

2.ของจะถูกส่งไปที่ศูนย์กระจายของ และ จะต้องมีการสแกนรับของอีกครั้ง ข้อมูลของวัสดุจะถูกส่งเข้าเซิร์ฟเวอร์ทันที่ว่าอยู่ที่ศูยน์กระจายของ

3.จากนั้นถูกนำส่งโดยรถขนส่งไปที่ไปรษณีย์ปลายทาง โดยจะมีการสแกนบาร์โค๊ดตลอดทางเพื่อแจ้งพิกัดไปยัง เซิร์ฟเวอร์ว่าอยู่ที่ใด

4.ส่งถึงที่ทำการปลายทาง มีการสแกนรับของ ข้อมูลเข้าสู่ระบบทันทีว่ามีการรับของชิ้นนี้แล้ว วันและเวลาเท่าไหร่

5.จัดส่งถึงมือผู้รับ โดยผู้รับจะทำการยืนยันโดยใช้รหัส EMS ในการรับของ

หมายเหตุ : วัสดุที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นคือ การส่งของแบบ EMS และวัสดุที่มีการลงทะเบียนส่งเท่านั้น

จากที่กล่าวมาแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นั้นจะทำการสแกนบาร์โค๊ดตลอดการขนส่งเพื่อส่งข้อมูลกลับมาที่เซิร์ฟเวอร์เพื่อที่ผู้มาใช้บริการนั้นสามารถที่จะเข้าไปตรวจสอบสถานะของวัสดุที่ส่งว่าไปไหนแล้ว ขั้นตอนในการตรวจสอบนั้น ผู้ใช้บริการเพียงแค่เข้าไปที่หน้าเวปของไปรษณีย์ http://www.thailandpost.com จากนั้นเลือกที่บริการตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน แล้วใส่รหัส EMS 13 หลักระบบจะทำการตรวจสอบสถานะขนาดนั้นว่าวัสดุที่ส่งไปนั้นอยู่ที่ใด

หน้าเวปที่ให้บริการ

เลข EMS 13 หลัก

โดยบริการไปรษณีย์ที่เปิดให้บริการตรวจสิ่งของ มีดังต่อไปนี้

1.ไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ

2.ไปรษณีย์ลงทะเบียนในประเทศ

3.โลจิสโพสต์

4.ไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ

5.พัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ

เนื่องจากที่ผ่านมาไปรษณีย์ไทยได้จัดส่งสินค้าให้ลูกค้าผ่านทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) มาตลอด แต่วันนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มีโอกาศเลือกช่องทางในการจัดส่งได้มากขึ้น ทางไปรษณีย์ไทยจึงเพิ่มช่องทางการส่งแบบไปรษณีย์ลงทะเบียน ซึ่งแนะนำสำหรับลูกค้าในกรุงเทพและปริมลฑลเนื่องจากระยะเวลาในการจัดส่งไม่แตกต่างกับไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) มากนักแต่จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า

ประโยชน์ของเลข EMS 13 หลัก

1. กรณีที่ผู้รับไม่อยู่บ้าน

บุรุษไปรษณีย์ไปส่งแล้วแต่บ้านปิด บุรุษไปรษณีย์จะเสียบใบแจ้งไว้ แต่เกิดกรณีเอกสารหาย ลูกค้าสามารถเตรียมเอกสารเหล่านี้เพื่อนำไปที่บริษัทไปรษณีย์เพื่อแสดงความต้องการรับสินค้าได้ภายใน 7 วัน

– เลข EMS
– บัตรประชาชนตัวจริง (ชื่อตรงกับชื่อที่จ่าหน้ากล่อง)
– ใบแจ้ง  (ถ้ามี)

2. กรณีที่ลูกค้าให้ส่งแบบ “ไปรษณีย์รอจ่าย” เพื่อไปรับของเองที่ไปรษณีย์

กรณีนี้ไปรษณีย์จะไม่มีใบแจ้งให้ลูกค้าตรวจสอบก่อนว่าของถึงพร้อมรับหรือไม่ โดยกรอกเลข EMS ลงในช่อง “ตรวจสอบสถานะ EMS” ที่อยู่ด้านล่างของเว็บ ถ้าขึ้นว่า “สถานะเตรียมจ่าย” นั่นแสดงว่าลูกค้าสามารถเข้าไปรับสินค้าได้ โดยเตรียมเอกสารเหล่านี้เพื่อไปรับสินค้าที่ไปรษณีย์ภายใน 7 วัน

– เลข EMS
– บัตรประชาชนตัวจริง (ชื่อตรงกับชื่อที่จ่าหน้ากล่อง)

3. กรณีที่สินค้ามีคนรับแล้วไม่ว่าให้ส่งไปตามที่อยู่หรือแบบ “ไปรษณีย์รอจ่าย”

ลูกค้าสามารถนำข้อมูลเลข EMS 13 หลัก กรอกลงในระบบ “Track and Trace” หรือ ตรวจสอบสถานะEMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน ระบบจะประมวลผลออกมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผลการนำจ่ายสิ่งของหมายเลข: ED587473552TH
วันที่นำจ่าย : เสาร์ 5 เมษายน 2551
เวลานำจ่าย : 09:00-11:59 น.
ชื่อของลายเซ็น : รปภ ปรีชา
ชื่อของที่ทำการ : ราษฏร์บูรณะ
ประเภทของการสแกน : ผู้รับได้รับเรียบร้อย

ข้อเปรียบเทียบระหว่างประเภทการส่งประเภท EMS และประเภทพัสดุลงทะเบียน

1. ประเภท EMS

เมื่อลูกค้าได้รับเลขพัสดุสินค้าที่ทางบริษัทไปรษณีย์ได้แจ้งให้ทราบไว้แล้วลูกค้าสามารถนำเลขทั้ง 13 หลักนั้นเช็คกับเว็บไซต์บริการของไปรษณีย์ไทยหรือที่ “Track and Trace” หรือ “ตรวจสอบสถานะEMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน” ที่หน้าแรก ซึ่งการส่งแบบ EMS จะแสดงสถานะทุกขั้นตอนของกระบวนไปจนกระทั่งลูกค้าได้รับสินค้า เรียบร้อยแล้ว ลูกค้าที่อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑณ จะได้รับสินค้าภายใน 1 วันทำการ ซึ่งหมายถึงลูกค้าจะได้รับสินค้าภายในวันถัดไปหลังจากที่ร้านค้าส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว นอกเหนือจากเขตนี้ระยะเวลาในการได้รับสินค้าจะเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน

2. ประเภทพัสดุลงทะเบียน

เช่นเดียวกันลูกค้าสามารถนำเลขทั้ง 13 หลัก เช็คสถานะพัสดุได้เช่นเดียวกันกับ EMS แต่จะแตกต่างกันที่ประเภทลงทะเบียน ซึ่งจะแสดงเฉพาะสถานะการรับเข้าระบบต้นทาง ปลายทาง และสถานะที่ผู้รับได้รับพัสดุสิ่งของแล้วเท่านั้น สำหรับระยะเวลานั้นลูกค้าที่อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑณจะได้รับสินค้าภายใน 2 วันทำการ หมายถึงว่าเมื่อมีการจัดส่งสินค้าวันจันทร์ ลูกค้าจะได้รับสินค้าภายในวันพุธ นอกเหนือจากเขตนี้ขึ้นอยู่กับระยะทางโดยประมาณ 3 – 7 วัน

สรุปคือ การส่งประเภท EMS จะมีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าแต่ได้ของเร็วมาก ส่วนพัสดุลงทะเบียนจะมีค่าใช้จ่ายในราคาถูกแต่ได้รับสินค้าช้ากว่า อีกทั้งการส่งประเภท EMS ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะสินค้าได้ละเอียดมากขึ้นด้วยระบบ “Track and Trace” หรือ “ตรวจสอบสถานะEMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน” ทำให้ลูกค้าที่ใช้บริการอุ่นใจในระบบการจัดส่งประเภท EMS นี้ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีเนื่องจากลูกค้าสามารถคำนวณเวลาในการจัดส่งสินค้าได้และยังทราบถึงสถานะปัจจุบันของสินค้าอีกด้วย

ใส่ความเห็น