Archive for กันยายน, 2010

ระบบ EMS ของไปรษณีย์ไทย

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเข้ามีอิทธิพลในทุกๆด้าน หลายธุรกิจจึงพยายามนำระบบสารสนเทศเข้ามาพัฒนาองค์การของตนเอง  แต่การที่เราจะนำข้อมูลต่าง ๆ ทำออกมาในรูปแบบระบบสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลที่จะต้องนำไปทำระบบสารสนเทศจะต้องการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้นฐานข้อมูล (Database) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ หลายองค์การจึงได้นำเทคโนโลยีฐานข้อมูลมาใช้งานเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งขันในเชิงการค้า นั่นหมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลมาใช้ประโยชน์ด้วยการเรียกดูข้อมูล แสดงรายงาน รวมทั้งการนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ และการวางแผน และถ้าจะกล่าวถึงระบบการจัดส่งสินค้าหรือจดหมายในประเทศไทยอย่างบริษัทไปรษณีย์ไทย ซึ่งในขณะนี้ก็ได้นำระบบติดตามและตรวจสอบสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์เข้ามาใช้ในองค์การและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเรื่อยๆ จากเดิมก่อนที่ไปรษณีย์ไทยจะนำระบบนี้เข้ามาใช้กับองค์การ ผู้ใช้บริการไม่สามารถทราบถึงระยะเวลาในการจัดส่งและสถานะสินค้าของตนเองได้เลย แต่หลังจากที่บริษัทไปรษณีย์ไทยได้นำระบบนี้เข้ามาใช้ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ใช้บริการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นบริการสำหรับการติดตามและตรวจสอบสิ่งของที่มีการฝากส่งภายในและเทศไทยและระหว่างประเทศ โดยผู้ที่ใช้บริการสามารถติดตามผลของการฝากส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ว่าถึงมือผู้รับแล้วหรือยังชื่อของระบบนี้คือ “Track and Trace” หรือ “ตรวจสอบสถานะEMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน” โดยโครงสร้างของระบบตรวจสอบและติดตามการจัดส่งสิ่งของไปรษณีย์นี้ ประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือส่วนการทำงานที่ทำการไปรษณีย์ ส่วนการทำงานฮับต้นสังกัด ส่วนการทำงานศูนย์ไปรษณีย์ และส่วนของลูกค้า

อ่านเพิ่มเติม

Food court POS system หรือ ระบบศูนย์อาหาร Group 7 MBA Night1

Food court POS system หรือระบบศูนย์อาหาร

Food court POS system  หรือระบบศูนย์อาหาร  อาจเป็นสิ่งที่คนเมืองคุ้นเคยดี  เนื่องจากศูนย์อาหารหลายแห่งตั้งอยู่ในซูเปอร์สโตร์  หรือ ดิสเคาน์สโตร์  โดยทั่วไปจะมีการนำเงินสดไปแลกเป็นคูปองแทนเงินสดไว้สำหรับซื้ออาหารในศูนย์อาหาร  ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารในศูนย์อาหาร   เพราะเพื่อเป็นการป้องกันการศูนย์หายเงินสดระหว่างวันที่ทำการค้าขายอาหารนั้นเอง  แต่ข้อเสียสำหรับคูปองแทนเงินสด คือในบางครั้งคูปองอาจเกิดการฉีกขาด  หรือเปียกน้ำเสียหายได้นั้น และยังยุ่งยากในขั้นตอนการตรวจนับคูปองสำหรับให้ผู้บริโภคหรือตรวจนับยอดคูปองคงเหลือ   ผู้ประกอบการศูนย์อาหารได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้  จึงทำการปรับเปลี่ยนระบบโดยใช้ระบบไอทีการ์ดเงินสดอิเล็กทรอนิกส์  (Cash card) แทนคูปองเงินสด   ข้อดีของการใช้ cash card ที่เห็นชัดเจน คือความสะดวกสบายที่ลูกค้าได้รับ  จากที่เคยต้องต่อแถวยาว รอนับคูปอง ทอนเงิน ก็เพียงแค่ยื่นเงินให้ตามที่ต้องการใช้ แล้วรับ Cash card ไปซื้ออาหาร ได้เหมือนเดิม การ์ดใบเดียวก็ยังได้ซื้ออาหารได้ทุกร้านในศูนย์ อาหารนั้นๆ ไม่ต้องมานับคูปองให้ยุ่งยากอีกต่อไป

อ่านเพิ่มเติม

One device does it all: NFC Technology for Mobile(Mobile on data base)

One device does it all: NFC Technology for Mobile

ในปัจจุบันคงจะกล่าวได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นได้ก้าวไกลไปจากอดีตอยู่มาก จากเดิมที่ถูกผลิตขึ้นมาเพียงเพื่อไว้สำหรับสื่อสารทางไกลเท่านั้น แต่ในขณะนี้ ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีต่างๆ โทรศัพท์เคลื่อนที่จึงไม่ได้มีหน้าที่ไว้เพียงสำหรับติดต่อสื่อสารแค่นั้นอีกต่อไป แต่มันได้เพิ่มเติมหน้าที่อันหลากหลายและน่าทึ่งเข้าไป ไล่มาตั้งแต่ เครื่องเล่นเกม กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม พีดีเอ อุปกรณ์เนวิเกเตอร์ หรือแม้กระทั่งนวัตกรรมล่าสุดที่เปลี่ยนให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปเป็น ในสิ่งที่อยู่ในกระเป๋ากางเกงฝั่งตรงข้าม นั่นคือ กระเป๋าตังค์

Near Field Communication (NFC): Young Blood of Mobile Technology

เทคโนโลยี NFC เป็นการนำเอา RFID มารวมเข้าไว้กับ Simcard ภายในโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อสำหรับการจัดเก็บบันทึกข้อมูล รวมทั้งสามารถทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่อ่านข้อมูลใน RFID ได้อีกด้วย ด้วยสิ่งนี้เหมือนเป็นการทำให้โทรศัพท์กลายเป็น key หรือกุญแจที่จะนำไปสู่ฐานข้อมูล (Database) ของผู้ให้บริการหรือตัวโทรศัพท์นั่นเองที่จะเป็นแหล่งของข้อมูล เพื่อให้ตัวผู้ใช้งานเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้นในการทำธุรกรรมหรือกิจกรรมต่างๆด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียว นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม

นวัตกรรมไอทีกับระบบการขนส่งทางเรือ

แนวโน้มปัจจุบันของธุรกิจท่าเรือและการขนส่งทางทะเล

การท่าเรือฯ เร่งยกระดับให้บริการท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบในปีนี้ วางเป้าท่าเรือแหลมฉบังเป็น Innovative Port แข่งท่าเรือใกล้เคียง

จากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจท่าเรือและการขนส่งทางทะเล (Port and Marine Transportation) ของโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งในส่วนของการพัฒนาท่าเทียบเรือและเรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อแสวงหาความประหยัดต่อขนาด (Economy to Scale) ของการขนส่ง

การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จึงมุ่งพัฒนาการให้บริการท่าเรือ โดยใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในการขนถ่ายสินค้า/ตู้สินค้า และการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งๆ ขึ้น ทั้งนี้เพื่อดึงดูดให้เรือสินค้าขนาดใหญ่เลือกใช้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นจุดจอดเรือ

แนวโน้มการขนส่งทางทะเลขยายตัว

แนวโน้มสำหรับธุรกิจด้านการขนส่งทางทะเลไม่ว่าจะเป็นกิจการทางเรือ สายการเดินเรือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องคาดว่าเป็นไปในทางที่ดีขึ้นและน่าจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นบวก

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน และดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก ผู้ประกอบการจึงควรต้องมีการบริหารจัดการเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ดีขึ้น ซึ่งการท่าเรือฯ มีนโยบายที่จะมีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งให้กับผู้ประกอบการ โดยมุ่งปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น

การท่าเรือฯ มุ่งพัฒนาการบริหารจัดการและการบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานบริการต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีระบบเทคโนโลยีหลักที่นำมาใช้ปฏิบัติการที่ท่าเรือกรุงเทพ ได้แก่ ระบบการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้า (Container Terminal Management System: CTMS) เพื่อการทดแทนระบบเดิมที่ใช้อยู่ และระบบการให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ต่างๆ (Vessel & Cargo Management System:VCMS)  ระบบควบคุมการผ่านเข้าออกประตูอัตโนมัติ หรือ e-Gate เป็นระบบที่มีการนำระบบ RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้ อีกทั้งการพัฒนาและติดตั้งระบบจัดเก็บค่ายานพาหนะผ่านท่า หรือ e-Toll Collection System ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยได้นำระบบ OCR (Optical Character Recognition) และ RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้ในการตรวจสอบข้อมูลตู้สินค้า บุคคล ยานพาหนะ ค่าธรรมเนียม และจุดหมายปลายทาง เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหลักการทำงานอัจฉริยะ โดยกล้องดิจิตอลที่ติดตั้งบริเวณทางเข้าจะจับข้อมูลเบอร์ตู้กลับไปยังฐานข้อมูล ทันทีมีรถหัวลากที่ติดระบบ RFID ผ่านเข้ามา ซึ่งโดยเฉลี่ยแต่ละคันใช้เวลาถึง 3 นาทีในการผ่านประตู แต่ระบบดังกล่าวใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาทีต่อคัน เป็นการติดตามการส่งข้อมูลที่รวดเร็วมากขึ้น

และโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นที่ท่าเรือแหลมฉบังคือ ศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Data Center ที่ทำหน้าที่เชื่อมเครือข่ายระหว่างท่าเรือแหลมฉบังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบการท่าเรือ กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลรายการสินค้า (e-manifest) รายการตู้สินค้า (Container List) โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ Real Time ซึ่งจะช่วยให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับ Terminal Operator และส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ เพราะฉะนั้นการเชื่อมต่อกับระบบ National Single Window ของกรมศุลกากร ก็จะสามารถทำได้ง่ายขึ้น

 http://www.logisticsdigest.com/article/logistics-insight/item/4210-port-and-marine-transportation-outlook.html

RFID  (Radio Frequency Identification)

RFIDเริ่มเข้ามามีบทบาทมากต่ออุตสาหกรรมและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วและความถูกต้อง รวมไปถึงความปลอดภัยที่สามารถติดตามสถานะของสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ

หากย้อนกลับมาที่ประเทศไทยภาคอุตสาหกรรมและภาคโลจิสติกส์ ยังมีการขับเคลื่อนในเรื่องนี้น้อยมาก ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการบางรายยังไม่รู้จัก RFID อย่างไรก็ดี บทบาทของ RFID ที่จะมีต่อภาคอุตสาหกรรมและการกระจายสินค้า ซึ่งจะก่อให้เกิดการแข่งขันทั้งในด้านต้นทุนและสถานภาพการส่งมอบแบบทันเวลา ทำให้ระบบโลจิสติกส์ ถูกนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งในระดับภาคธุรกิจและระดับประเทศ โดยกระบวนการในการขนส่งภายใต้โซ่อุปทาน ความรวดเร็วและถูกต้องในการส่งมอบ จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจในอนาคต

RFID กำลังมีบทบาทต่อการส่งสินค้าออกด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ระบบ RFID จะเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็น Electronic Seal ซึ่งติดอยู่ที่ตู้คอนเทนเนอร์ในการแสดงสถานะ (Status) ซึ่งจะทำให้ผู้รับสินค้าและผู้ส่งสินค้าสามารถใช้ในการติดตาม Tracking การเดินทางของสินค้าในระยะทางไกล เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ

RFID หรือ Radio Frequency Identification เป็นระบบอัจฉริยะ ภายใต้ Nano Technology ที่กำลังจะมีบทบาทเข้ามาแทนที่ระบบบาร์โค้ดโดยระบบใหม่นี้จะใช้ระบบคลื่นของความถี่วิทยุ ช่วยในการอ่านรหัสและข้อมูลของสินค้าหรือข้อมูลของฉลากได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ในขณะที่สินค้ายังเคลื่อนไหวพร้อมกันได้คราวละหลายชิ้น (Tag) โดย RFID จะสามารถอ่านข้อมูลได้รวดเร็ว ด้วยความเร็วสูง 50 ชิ้นต่อนาที และยังสามารถอ่านค่าของสินค้านั้นได้แม้จะอยู่ในระยะไกล

ตัวอย่างการนำโปรแกรมเข้ามาใช้ในระบบการขนส่งทางน้ำ

โปรแกรม Goods Control List (ระบบใบกำกับตู้สินค้า )  

Goods Control List เป็นบริการรับ-ส่งเอกสารใบกำกับตู้สินค้าหรือคอนเทนเนอร์ ผ่านระบบเครือข่ายของ TIFFA ระหว่างผู้ประกอบการกับกรมศุลกากร โดยผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบบรรจุตู้ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ส่งออก ตัวแทน หรือ Terminal จะต้องจัดส่งข้อมูล Goods Control List นี้ก่อนที่ตู้สินค้าจะผ่านเข้าสถานีรับบรรทุก (Sub Gate) ของท่าที่จะส่งออก

Goods Control List เดิมเรียก E-Container และปัจจุบันได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อรองรับระบบ Paperless ของกรมศุลกากร เพื่อให้สามารถรองรับการส่งสินค้าออกทั้งทางเรือ ทางบก และทางอากาศ โดยข้อมูลสำคัญที่ต้องแจ้งตามแบบฟอร์มประกอบด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ส่งออก เลขที่ใบขนสินค้าออก ท่าที่ส่งออก ชื่อเรือ/เที่ยวเรือ หมายเลขคอนเทนเนอร์ของแต่ละตู้ จำนวนหีบห่อสินค้าในแต่ละตู้ และน้ำหนักรวมหีบห่อของสินค้าในแต่ละตู้ เมื่อจัดทำเรียบร้อยแล้วจะต้องทำการลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) แล้วจึงส่งผ่านเข้ามายังเครือข่ายของ TIFFA เพื่อส่งต่อไปยังกรมศุลกากรต่อไป ปัจจุบันกรมศุลกากรได้เปิดรับการตรวจสอบเอกสารนี้ในท่าเรือ 2 แห่ง คือ ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง

ขั้นตอนการงานของระบบ Goods Control List

1. ผู้ส่งออกหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าขาออกโดยใช้โปรแกรมใบขน Ezy Gov. ส่งข้อมูล EDI / XML ลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) เข้ากรมศุลกากร เมื่อได้รับตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าแล้วให้ทำการเปิดโปรแกรม Goods Control List และทำการ load ข้อมูลจากใบขน ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาได้ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์เพื่อเตรียมทำใบกำกับตู้คอนเทนเนอร์ (ทำหลังจากที่บรรจุสินค้าที่จะส่งออกเข้าตู้คอนเทนเนอร์เรียบร้อยแล้ว) ดังภาพ

 

2. คีย์ข้อมูลเพิ่มลงในโปรแกรม Goods Control List เช่น หมายเลขคอนเทนเนอร์ของแต่ละตู้ จำนวนหีบห่อสินค้าในแต่ละตู้ น้ำหนักรวมหีบห่อ (Gross Weight) ของสินค้าในตู้
3. ส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย TIFFA เข้าไปกรมศุลกากร ก่อนส่งต้องลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Sign) ให้เรียบร้อยก่อน
4. หากต้องการแก้ไขข้อมูลที่ส่งไปแล้ว สามารถแก้ไขได้ก่อนที่รถจะผ่านเข้าสถานีรับบรรทุก (SUB GATE) ของท่าที่ส่งออก
5. เมื่อได้รับข้อมูลตอบกลับจากกรมศุลกากรแล้ว ให้ทำการพิมพ์ใบกำกับคอนเทนเนอร์หรือใบขนย้ายสินค้า และให้พนักงานขับรถนำเอกสารนั้นไปยื่นให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรที่ประจำอยู่ ณ สถานีรับบรรทุก (SUB GATE) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถัดจากเครื่องชั่งน้ำหนัก

 

6. เมื่อรถเข้าถึง SUB GATE เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบหมายเลขคอนเทนเนอร์ หากถูกต้องจะรับรองการบรรทุกให้อัตโนมัติ ก่อนที่จะนำตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรทุกลงเรือ

ประโยชน์จากการใช้ระบบ Goods Control List

ลดเวลาอย่างแท้จริงในการจัดทำเอกสาร
เอกสารมีความถูกต้องแน่นอน ประหยัดเวลาในการตรวจสอบ
จัดพิมพ์ได้ทันทีเมื่อได้รับการ accept จากกรมศุลกากร
สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง คือ หากพบข้อผิดพลาดสามารถส่งข้อมูลแก้ไขได้ตลอดเวลาจนกว่ารถจะถึง SUB GATE
ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น ชื่อเรือ เที่ยวเรือ ได้ภายในโปรแกรมเดียว
มีความต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกมีความสมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจัดทำใบขนจนกระทั่งตรวจปล่อยสินค้า
ผู้ประกอบการสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.tiffaedi.com/elogistics1.asp

บทสรุป

        เนื่องจากปัจจุบันการขนส่งทางน้ำถือเป็นช่องทางที่สำคัญและได้รับความนิยมมากของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีเครือข่ายการเชื่อมโยงทางคมนาคมที่สำคัญหลายสายกับประเทศลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และจีน อีกทั้งปริมาณในการขนส่งได้ในปริมาณที่มากกว่าช่องทางอื่นๆ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำจึงได้พัฒนาการรูปแบบการขนส่งให้ทันสมัยโดยนำวิวัฒนาการเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานไม่ว่าจะเป็นการบรรจุ หรือ การขนย้าย รวมถึงการตรวจสอบสินค้า ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงทำให้ต้นทุนของกระบวนการทำงานลดน้อยลง เช่น จากเดิมมีการใช้พนักงานในการตรวจนับสินค้า จึงทำให้เรือที่เข้ามาจอดรอเพื่อขนส่งสินค้าต้องใช้เวลานานในการจอดรอ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน , น้ำมัน และเวลา เป็นต้น

เครือข่ายจราจรในอนาคต By Group 5

เครือข่ายการจราจรในอนาคต

ปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบจราจรและการขนส่ง   ไม่ว่าจะเป็นภารกิจด้านการจัดการการจราจรบนโครงข่ายถนนและทางด่วน   การให้บริการสาธารณะในรูปแบบต่างๆ โดยแต่ละหน่วยงานได้ทำการเผยแพร่ข้อมูลของตนผ่านสื่อต่างๆ โดยใช้ช่องทางที่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งคือ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ของระบบอินเตอร์เนต   ซึ่งข้อมูลเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ  ในปัจจุบันจึงยังไม่มีแหล่งข้อมูลที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมด  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลทางด้านการจราจรและขนส่งจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง    เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการเดินทางได้อย่างครบถ้วนภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว   สามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางที่เหมาะสมในสถานะการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องนั้น  และเพื่อให้สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่    ทั้งหน่วยงานภายในกระทรวงคมนาคมและการเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ

โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และพัฒนาให้ระบบคมนาคมดีขึ้น   และเพื่อความสะดวกสำหรับการเดินทางและความปลอดภัย  คือการนำ  “ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ ” หรือ  ITS – Intelligent  Transport  Systems เข้ามาใช้ในการคมนาคมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ITS เป็นระบบที่รวมเอาเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล    อิเล็กทรอนิคคอมพิวเตอร์   และ  โทรคมนาคม  มาผสมผสานให้เกิดการประยุกต์ใช้งาน  เช่น

อ่านเพิ่มเติม

นวัตกรรมไอที กับ ธุรกิจศูนย์บริการรถยนต์ กลุ่มที่ 9

ธุรกิจศูนย์บริการรถยนต์

ในแต่ละปี อัตราความต้องการรถยนต์มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวัดได้จากยอดขายของบรรดาค่ายรถต่างๆ และความแออัดบนท้องถนนที่มีให้เห็นอยู่ทุกวัน สำหรับบางคนแล้วรถยนต์กลายเป็นสิ่งที่ขาดจากกันไม่ได้ ด้วยเหตุผลสำคัญคือ ความสะดวกในการเดินทาง

จากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจศูนย์บริการรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเช่นกัน แต่ละแห่งก็จะมีมาตรฐานในการให้บริการที่แตกต่างกันไป ถ้าเปรียบเทียบการใช้ศูนย์บริการรถยนต์กับบริการทางการแพทย์ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย หรือให้คำแนะนำการดูแลรักษาสุขภาพ แพทย์จำเป็นต้องทราบประวัติของผู้ป่วย และการรักษาก่อนหน้า เพื่อวิเคราะห์และให้การรักษาที่ถูกต้อง เช่นเดียวกัน รถยนต์แต่ละคัน ก็ควรจะมีข้อมูลเกี่ยวกับตัวรถ การใช้งาน และการบำรุงรักษา เพื่อที่ทางศูนย์บริการรถยนต์จะสามารถซ่อม บำรุงรักษารถยนต์ได้ถูกทาง แต่ในปัจจุบันการนำรถยนต์เข้าศูนย์บริการทั่วไป จะเป็นการตรวจเช็ครถยนต์และซ่อมบำรุงตามสภาพของรถยนต์ในขณะนั้น ยกเว้นจะนำเข้าศูนย์บริการของแบรนด์รถยนต์นั้นๆ จึงจะมีรายละเอียดข้อมูลของรถยนต์อยู่  กรณีนี้จึงควรมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางของรถยนต์ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งกับเจ้าของรถยนต์และศูนย์บริการ ในการดูแลและบำรุงรักษารถยนต์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

อ่านเพิ่มเติม

พัฒนาการศึกษาในโรงเรียนด้วยวัตกรรมไอที – Group 4

พัฒนาการศึกษาในโรงเรียนด้วยวัตกรรมไอที

ประเทศไทยในตอนนี้เป็นช่วงที่ให้ความสนใจกับการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโต มีการพัฒนาทั้งด้านโทรคมนาคม การขนส่ง การติดต่อสื่อสาร ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาให้ก้าวไกล แต่ทางด้านการศึกษาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศชาติกลับยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรโดยเฉพาะการศึกษาในระดับโรงเรียน

การศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญ ดังอย่างที่ผู้หลักผู้ใหญ่มักจะปลูกฝังเด็กให้รักและตั้งใจในการเรียนเสมอ หรือคำพูดที่ติดหูหลายคนว่า “ชาติจะเจริญหากเด็กมีความรู้” คำพูดดังกล่าวนั้นเป็นจริงอย่างไม่ต้องสงสัยเห็นได้จากผู้คนที่มีตำแหน่งใหญ่โตเหล่านั้นก็ได้รับการศึกษาที่ดีและใส่ใจในการเรียนเสมอ ถึงอย่างไรก็ตามการเรียนที่ครบวงจรทั้งเรื่องของเทคโนโลยี การเรียนรู้ด้วยตนเอง สิ่งที่สนับสนุนการเรียนนั้นจะพบว่า ในระดับการศึกษาของโรงเรียนยังไม่มีระบบที่ทันสมัยเท่ากับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ที่มีการอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆที่มากกว่าระดับโรงเรียน ทั้งเรื่องการแจ้งข่าวสารต่างๆ การประชาสัมพันธ์ ระบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือแม้แต่กระทั้งการส่งงาน ที่ได้รับมอบหมาย

อ่านเพิ่มเติม

สร้างศักยภาพกรมศุลกากรแห่งประเทศไทยด้วยระบบ E-Paperless (Group 6)

            Paperless คืออะไร คือการลดการใช้กระดาษในการทำงานและในชีวิตประจำวัน เพื่อความประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างอย่างคุ้มค่าอันจะนำไปสู่การสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน

คำถามต่อ Paperless ?

– เพิ่มงานหรือเปล่า ?

– ยุ่งยากกว่าเดิมหรือไม่  ?

– จะได้อะไรจากระบบนี้ ?

– ใครจะต้องใช้ระบบนี้ ? อ่านเพิ่มเติม

อัญมณีไทย ใช้ไอทีเป็นตัวหนุน…เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส Group8

บริษัท Grace of Art ผู้ผลิตอัญมณีไทย ใช้ไอทีเป็นตัวหนุน…เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

ด้วยความเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่มีรายได้หลักจากการรับจ้างผลิตสินค้าอัญมณีตามความต้องการของลูกค้าจากต่างประเทศ ครั้นเมื่อสภาพตลาดอัญมณีโลกเริ่มเปลี่ยนและมีคู่แข่งที่เป็นผู้รับจ้างผลิตจากจีนเข้ามาแย่งลูกค้าด้วยกลยุทธ์ราคาที่ต่ำกว่า  ทำให้ผู้ประกอบการอัญมณีไทยอย่าง บริษัท Grace of Art จำกัด ต้องปรับกระบวนท่าทางธุรกิจอย่างมากจนกระทั่งกลับมาแข่งขันในตลาดอัญมณีโลกได้อย่างสง่างามอีกครั้งหนึ่ง…ซึ่งเบื้องหลังของความสำเร็จครั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (IT: Information Technology) มีบทบาทอย่างมาก….

จากคำบอกเล่าของผู้บริหารวัย 27 ปีอย่าง คุณธันยพร เชี่ยวหัตถ์พงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและส่งออก ทายาทรุ่นสองที่เข้ามาบริหารกิจการพบว่า บริษัท Grace of Art จำกัด ผู้ผลิตอัญมณีไทยขนาดกลางโดนแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงจนรายได้ถดถอยต่อเนื่อง ทำให้บริษัทต้องตัดสินใจปรับกลยุทธ์ธุรกิจจากการรับจ้างผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า มาเป็นการออกแบบเครื่องประดับด้วยดีไซน์ที่โดดเด่นของตนเองแล้วนำไปเสนอขายให้ลูกค้าแทน ซึ่งด้วยกลยุทธ์ดังกล่าวคุณธันยพร เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้บริษัทพอจะมียอดสั่งซื้อเข้ามาทดแทนส่วนที่หายไป อ่านเพิ่มเติม

E-Book Reader

ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่การเข้ามาของ คอมพิวเตอร์และเว็บไซต์จะทำให้การอ่านหนังสือที่ทำจากกระดาษหายไป เพราะเข้าใจว่าการพกพาหนังสือสะดวกกว่า ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องเชื่อมต่อหรือดาวน์โหลดก่อนเพื่อที่จะอ่าน แต่ขณะนี้ความคิดนั้นได้เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว เพราะ e-Book Reader ที่ผลิตออกมามีขนาดพอเหมาะ พกพาไปไหนมาไหนได้เหมือนกับหนังสือจริง ๆ น้ำหนักเบา และสามารถเก็บหนังสือได้หลายเล่ม และหลายประเภท ถึงแม้ว่า e-Book Reader จะยังไม่ประสบความสำเร็จมากนักเพราะว่าจำนวนคนที่ชอบอ่านหนังสือยังมีไม่มาก และบางคนยังคุ้นเคยและชอบหนังสือเป็นเล่ม ๆ มากกว่า แต่ e-Book Reader ก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ทางการตลาดของ e-Book Reader ในตลาดสหรัฐอเมริกา

จากรายงานการสำรวจของ “MRI’s Fall 2009 Survey of the American Consumer” เกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อ e-Book Reader ในสหรัฐอเมริกาของ Mediamark Research & Intelligence (MRI, 2009:1-2) และจากคำกล่าวของ Anne Marie Kelly, SVP, Marketing & Strategic Planning ของ Mediamark Research & Intelligence พบว่าผู้ที่ซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาดี (ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า), มีรายได้สูง, ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตนาน หรือ Web-centric, เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง, มีอายุอยู่ในช่วง 35-54 ปี, มีบ้านเป็นของตนเอง และมีรายได้ต่อปี 100,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ขึ้นไป อ่านเพิ่มเติม